ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

10. ข้อกำหนดในการติดตั้งระบบสายสัญญาณภายหลังการติดตั้งคือสายสัญญาณ

10.1     ทั่วไป
            สำหรับการติดตั้งนอกจากจะต้องดำเนินการตามมารตรฐานนี้แล้วยังต้องติดตั้งตามข้อกำหนดและระเบียบในการติดตั้งที่ถือปฎิบัติในแต่ละท้องที่อีกด้วย

10.1.1  การเดินสายสัญญาณแนวราบและสายสัญญาณหลัก
            ควรจะเริ่มประเมินว่าจะติดตั้งสายสัญญาณได้ถูกต้องตามแบบที่ได้กำหนดไว้ และความเค้นในสายควรจะมีน้อยที่สุด (ความเค้นเกิดจากแรงดึงในการดึงและขึงสายสัญญาณ ในการติดดตั้งหรือการรัดสายเนื่องจากการมัดสาย) สายรัดสายสัญญาณที่ใช้รัดรวมสายสัญญาณควรจะรัดให้หลวมพอที่สายสัญญาณจะสามารถเลื่อนไปตามสายได้บ้าง ไม่ควรจะรัดจนสายเสียรูปไป (ต้องศึกษาข้อกำหนดการติดตั้งและกฎระเบียบก่อนการติดตั้ง)

10.2     สายตีเกลียว 100 โอห์ม (สายยูทีพี : สายตีเกลียวไม่มีชิลด์) หรือสายเอสซีทีพี  (สายตีเกลียวหุ้มฟอยล์)

10.2.1  รัศมีความโค้งงอที่ต่ำที่สุด
            รัศมีความโค้งงอที่ต่ำที่สุดของสายสัญญาณจะขึ้นอยู่กับสภาพของสายสัญญาณขณะที่ทำการติดตั้งคือมีแรงดึงมากระทำกับสายสัญญาณ และภายหลังการติดตั้งคือสายสัญญาณอยู่นิ่งไม่มีแรงกระทำกับสายสัญญาณ
10.2.1.1 รัศมีความโค้งงอที่ต่ำที่สุดของสายสัญญาณ
             รัศมีความโค้งงอที่ต่ำที่สุดเมื่อไม่มีแรงมากระทำของสายยูทีพี (สายตีเกลียว ไม่มีชิลด์) ต้องไม่น้อยกว่า 4 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางของสายสัญญาณ และไม่น้อยกว่า 8 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางของสายสัญญาณเอสซีทีพี (สายตีเกลียวหุ้มฟอยส์)
10.2.1.2 รัศมีความโค้งงอที่ต่ำที่สุดของระบบสัญญาณหลัก
            รัศมีความโค้งงอที่่ต่ำที่สุดเมื่อไม่มีแรงมากระทำสำหรับสายสัญญาณหลักแบบหลายคู่ ต้องไม่น้อยกว่า 10 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของสายสัญญาณ
10.2.1.3  รัศมีความโค้งงอที่ต่ำที่สุดของสายต่อเชื่อม
            ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา
10.2.2    แรงดึงสูงสุด
            แรงดึงสูงสุดสำหรับสายยูทีพี  (สายตีเกลียวไม่มีชิลด์) ขนาด AWG จะต้องไม่เกิน 110 N (25 lbf) สำหรับสายสัญญาณหลักแบบหลายคู่ให้ปฎิบัติตามคำแนะนำจากผู้ผลิตสายสัญญาณ
10.2.3    การต่อปลายสายสัญญาณด้วยอุปกรณ์เชื่อมต่อ
            การเชื่อมต่อปลายสายสัญญาณจะต้องใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อเป็นขั้วต่อ หรือแผงกระจายสายทั้งตัวเมียคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ที่มีแคททีกอรี (Category) เดียวกัน หรือสูงกว่าเพราะประสิทธิภาพของสายสัญญาณไม่ได้ขึ้นอยู่กับสายสัญญาณ หรืออุปกรณ์เชื่อมต่อเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการเลือกแคททีกอรีขั้วต่อ, สายต่อเชื่อมและสายต่อครอส ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้มีผลทำให้ประสิทธิภาพของระบบมีค่าลดลงดังนั้นในการติดตั้งจริงจึงควรพิจารณาถึงการเชื่อมต่อปลายสายสัญญาณ, การจัดการระบบสายสัญญาณ การต่อครอส สายเชื่อมต่อและการที่มีจุดต่อสายหลายจุดด้วยการรักษาสภาพของสายสัญญาณให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมน้อยที่สุดในขณะที่ทำการเชื่อมต่อสายสัญญาณกับอุปกรณ์เชื่อมต่อก็มีผลต่อประสิทธิภาพของระบบสายสัญญาณ ดังนั้นการปอกเปลือกหรือคลายเกลียวของสายเกลียวควรจะทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น(สำหรับการเชื่อมต่อแบบสตลิบแบ็คต้องทำตามคำแนะนำของผู้ผลิต) เช่นสายสัญญาณ CAT 5e หรือสูงกว่าสามารถคลายเกลียวได้ไม่เกิน 13 มิลลิเมตร (0.5 นิ้ว) จากปลายสาย,สายสัญญาณ CAT   3   สามารถคลายเกลียวได้ไม่เกิน 75 มิลลิเมตร  3  นิ้ว  จากปลายสาย  ซึ่งในการเชื่อมต่อสายสัญญาณ กับอุปกรณ์เชื่อมต่อยิ่งคลายเกลียวน้อยเท่าไรก็จะเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบ

10.2.4    สายต่อเชื่อม, สายเชื่อมอุปกรณ์, สายเชื่อมต่อกับเต้ารับ ณ จุดใช้งานและสายย้ำ
            สายสัญญาณและสายครอสคอนแนคที่ใช้เป็นสายต่อเชื่อมจะต้องมีสมรรถนะเดียวกันหรือสูงกว่าระบบสายสัญญาณในแนวราบที่จะทำการเชื่อมต่อ สำหรับสายต่อเชื่อมที่ใช้เป็นสายเชื่อมอุปกรณ์ไม่ควรเป็นสายที่ทำการเข้าสายที่จุดใช้งาน ควรจะเป็นสายที่ทำสำเร็จจากโรงงานเพื่อค่าการสูญเสียย้อนกลับมีผลกับประสิทธิภาพของระบบน้อยที่สุด

10.2.5   การต่อลงดินของสายเอสซีทีพี  (สายตีเกลียวหุ้มฟอยล์)  100  โอห์ม
            เมื่อทำการเช่อมต่อสายเอสซีทีพี  สายตีเกลียวหุ้มฟอยล์ กับอุปกรณ์เชื่อมต้องต่อเชื่อมต่อสายเดรนเข้ากับอุปกรณ์เชื่อมต่อตามวิธีการของผู้ผลิต ส่วนอุปกร์เชื่อมต่อที่จุดต่อครอสต้องต่อลงดินตามมารตรฐาน ANSI/TIA/EIA-607

10.3      ระบบสายใยแก้วนำแสง
10.3.1   รัศมีความโค้งงอที่ต่ำที่สุดและแรงดึงสูงสุด
            สำหรับสายใยแก้วนำแสงแบบ 2  และ  4  ใยแก้วเมื่อไม่มีแรงมากระทำจะมีรัศมีความโค้งงอต่ำสุดต้องไใาน้อยกว่า 25  มิลลิเมตร (1 นิ้ว)  และเมื่อมีแรงดึงสูงสุด  222  นิวตัน  ( 50 lbf)  รัศมีความโค้งงอต้องไม่น้อยกว่า  50 มิลลิเมตร ( 2 นิ้ว)
            สายใยแก้วนำแสงที่เป็นายสัญญาณหลักต้องมีรัศมีความโค้งงอต้องไม่น้อยกว่ามาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด ถ้าไม่ทราบให้มีรัศมีความโค้งงอต้องไม่น้อยกว่า  10 เท่า  ของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของสายสัญญาณเมื่อไม่มีแรงมากระทำ และต้องมีรัศมีความโค้งงอต้องไม่น้อยกว่า 15  เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของสายสัญญาณเมื่อมีแรงมากระทำ
            สายใยแก้วนำแสงที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างอาคารต้องมีรัศมีความโค้งงอต้องไม่น้อยกว่ามาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด ถ้าไม่ทราบให้มีรัศมีความโค้งงอต้องไม่น้อยกว่า  10  เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของสายสัญญาณเมื่อไม่มีแรงมากระทำ และต้องมีรัสมีความโค้งงอต้องไม่น้อยกว่า  20 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของสายสัญญาณเมื่อมีแรงมากระทำโดยปกติจะไม่เกิน 2670   นิวตัน (600  lbf)

10.3.2   การเชื่อมต่อปลายสายสัญญาณกับอุปกรณ์เชื่อมต่อ
           การเชื่อมปลายสายสัญญาณกับอุปกรณ์เชื่อมต่อจะมีสองวิธีคือตามข้อกำหนด 568SC หรือการวางตำแหน่งแบบกลับคู่
            การทำตามข้อกำหนด 568SC จะต้องกำหนดหมายเลขของสายใยแก้วนำแสงทั้งสองด้าน ( เช่น 1,2,3, ....) เส้นที่เป็นเลขคี่จะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เชื่อมต่อด้านหนึ่งในตำแหน่ง A ส่วนอีกด้านเข้าที่ตำแหน่ง B เส้นที่เป็นเลขคู่จะเชื่อมต่ออุปกรณ์เชื่อมต่อด้านหนึ่งที่ตำแหน่ง B  ส่วนอีกด้านหนึ่งเข้าที่ตำแหน่ง A ( เช่นที่ด้นแรก A-B, A-B, A-B,.........อีกด้านหนึ่งจะเป็น B-A, B-A, B-A,.......)ดังแสดงในรูปที่ 10
            การวางตำแหน่งแบบกลับคู่จะมีการเรียงสายใยแก้วนำแสงที่ด้านหนึ่งปกติ ( เช่น 1,2,3,4,.....) ส่วนอีกด้านหนึ่งจะเรียงแบบสลับคู่ (เช่น 2,1,4,3......)
            ในรูปที่ 11 จะแสดงรูปแบบการใช้ตัวแปลงตามข้อกำหนด 568SC ที่ทำการเชื่อมต่อที่จุดเชื่อมต่อครอสสายหลัก, จุดต่อครอสระหว่างกลางและการต่อครอสแนวราบ และจะต้องแน่ใจว่าการเชื่อมต่ออุปกรณ์เชื่อมต่อกับสายใยแก้วนำแสง ด้านหนึ่งต้องเป็นแบบ A-B ส่วนอีกด้านต้องเป็นแบบ B-A


             รูปที่ 10 :  ระบบสายใยแก้วนำแสงที่กำหนดไว้สำหรับขั้วที่ถูกต้อง (อุปกรณ์แบบติดตั้ง)


         
               รูปที่   11  :  ผังระบบสายใยแก้วนำแสงสำหรับระบบสายสัญญาณภายในอาคาร

10.3.3   สายต่อเชื่อม, สายเชื่อมอุปกรณ์ , สายเชื่อมต่อเต้ารับ ณ จุด ใช้งาน และสายย้ำ
            สายเชื่อมต่อระบบสายใยแก้วนำแสงจะประกอบด้วยสายใยแก้วนำแสง 2 เส้นซึ่งทั้งสองเส้นนี้จะต้องเป็นโหมดเดียวกัน และเมื่อใช้เป็นสายเชื่อมอุปกรณ์จจะต้องให้ขั้วต่อด้านที่เป็น A ต่อกับ B และ B ต่อกับ A
                        รูปที่ 12  :  ชุดต่อสายใยแก้วนำแสง  568SC

10.4     ระบบสายสัญญาณสายเอสซีทีพี (สายเกลียวหุ้มฟอยล์)  150  โอห์ม

10.4.1  รัศมีความโค้งงอต่ำที่สุด
            รัศมีความโค้งงอต่ำที่สุดของสายเอสซีทีพี (สายตีเกลียวหุ้มฟอยล์)  150  โอห์ม  ที่ไม่มีแรงมากระทำ เมื่อใช้ติดตั้งแบบนอลพลีนัมจะมีรัศมีความโค้งงงอต่ำสุดไม่น้อยกว่า 75 มิลลิเมตร  ( 3 นิ้ว) และเมื่อติดตั้งแบบพลีนัมจะมีรัศมีความโค้งงอต่ำสุดไม่น้อยกว่า  150 มิลลิเมตร  (6 นิ้ว)

10.4.2    แรงดึงดูด
            แรงดึงสูงสุดของสายเอสซีทีพี (สายตีเกลียวหุ้มฟอยล์)  150   โอห์ม จะต้องไม่เกิน 244  นิวตัน (55 lbf)

10.4.3   การเชื่อมต่อปลายสายสัญญาณกับอุปกรณ์เชื่อมต่อ
            การเชื่อมต่อปลายสายสัญญาณกับอุปกรณ์เชื่อมต่อสำหรับสายเอสซีทีพี (สายตีเกลียวหุ้มฟอยล์)  จะต้องเชื่อมต่อชิลด์กับอุปกรณ์เชื่อมต่อตามวิธีของผู้ผลิต สำหรับอุปกรณ์เชื่อมต่อที่อยู่บริเวณจุดต่อครอสจะต้องต่อลงดินตามข้อกำหนด  ANSI/TIA/EIA-607

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การคำนวณค่า Loss ของ Fiber Optic

ตัวอย่าง : (คำนวณที่ wavelength 1300 nm ตามมาตรฐาน TIA/EIA-568-B.3   ติดตั้งสาย Multimode 50/125 ohm ยาว 500 เมตร มีจุดต่อแบบ Splice 1 จุด ต่อ และมีจุดต่อแบบ Adapter 2 จุดต่อที่ Patch Panel ให้คำนวณหาค่า Loss                                              Limit                        Q’TY                          Loss Fiber Loss                          1.5 dB/km                0.5 km                     0.75 dB Adapter    Loss                   0.75 dB                      2                                1.5 dB Splice Loss                           0.3 dB                       1                               0.3 dB                                                                           Total :                           2.55 dB การคำนวณค่า Loss ของ Fiber Optic ตัวอย่าง : (คำนวณที่ wavelength 850nm ตามมาตรฐาน TIA/EIA-568-B.3   ติดตั้งสาย Multimode 50/125 ohm ยาว 500 เมตร มีจุดต่อแบบ Splice 1 จุดต่อ และมีจุดต่อแบบ Adapter 2 จุดต่อที่ Patch Panel

4. การติดต้้งระบบสายสัญญาณ

4.1       ทั่วไป             การติดตั้งสายสัญญาณแนวราบเป็นส่วนหนึ่งของการติดตั้งระบบสายสัญญาณที่ใช้ในการสื่่อสารคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม โดยเป็นการติดตั้งสายสัญญาณจากจุดรวมการสื่อสารไปยังเต้ารับ หรือขั้วต่อในพื้นที่ใช้งาน ซึ่งประกอบด้วยสายสัญญาณแนวราบ เต้ารับ การเชื่อมต่อสายเชือมต่อหรือสายต่อในจุดรวมการสื่อสาร และอาจจะถึงกลุ่มเต้ารับ หรือจุดศูนย์รวมเต้ารับก็ได้             (คำว่า "แนวราบ" ใช้กับสายสัญญาณที่เดินตามแนวราบหรือแนวนอนในขั้วหรือใต้ฝ้าของอาคาร)             การออกแบบการติดตั้งสายสัญญาณในแนวราบเทียบกับการใช้งานในระบบต่างๆ ดังนี้             ก) ระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์             ข) อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบสลับสาย             ค) ระบบการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์             ง) ระบบแลน (Local area Network)             จ) ระบบภาพเคลื่อนไหว หรือกล้องวงจรปิด        ฉ) ระบบสัญญาณในอาคารต่างๆ เช่น ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ , ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้, ระบบควบคุมปรับอากาศ ฯลฯ             เนื่องจากการติดตั้งสายสัญญาณแนวราบมีความสำคัญ และเมื่อติดตั้งไปพร้อมกับการก่อสร้า