ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คนชอบถามว่า ไฟเบอร์ออฟติก คืออะไร

 ไฟเบอร์ออฟติก คืออะไร


สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก สายใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา สายใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก
สายใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือ สายใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Single-mode Optical Fibers, SM) และชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)

สายใยแก้วนำแสงชนิด ซิงเกิลโหมด (Fiber Optic Single Mode)
เป็นการใช้ตัวนำแสงที่บีบลำแสงให้พุ่งตรงไปตามท่อแก้ว โดยมีการกระจายแสงออกทางด้านข้างน้อยที่สุด ซิงเกิลโหมดจึงเป็นสายใยแก้วนำแสงที่มีกำลังสูญเสียทางแสงน้อยที่สุด เหมาะสำหรับในการใช้กับระยะทางไกล ๆ การเดินสายใยแก้วนำแสงกับระยะทางไกลมาก เช่น เดินทางระหว่างประเทศ ระหว่างเมือง มักใช้แบบซิงเกิลโหมด

สายใยแก้วนำแสงชนิด มัลติโหมด (Fiber Optic Multi Mode)
เป็นสายใยแก้วนำแสงที่มีลักษณะการกระจายแสงออกด้านข้างได้ ดังนั้นจึงต้องสร้างให้มีดัชนีหักเหของแสงกับอุปกรณ์ฉาบผิวที่สัมผัสกับเคล็ดดิงให้สะท้อนกลับหมด การให้ดัชนีหักเหของแสงมีลักษณะทำให้แสงเลี้ยวเบนทีละน้อยเราเรียกว่าแบบเกรดอินเด็กซ์ (Grade Index) และการให้แสงสะท้อนโดยไม่ปรับคุณสมบัติของแท่งแก้วให้แสงค่อยเลี้ยวเบนก็เรียกว่าแบบ สเต็ปอินเด็กซ์ (Step Index) สายใยแก้วนำแสงที่ใช้ในเครือข่ายแลน ส่วนใหญ่ใช้แบบมัลติโหมด โดยเป็นขนาด 62.5/125หรือ 50/125 ไมโครเมตร หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อแก้ว 62.5 ไมโครเมตรหรือ 50ไมโครเมตร และแคล็ดดิงรวมท่อแก้ว 125 ไมโครเมตร คุณสมบัติของสายใยแก้วนำแสงแบบสแต็ปอินเด็กซ์มีการสูญเสียสูงกว่าแบบเกรดอินเด็กซ์



** 1ไมโครเมตร =1/1,000 มิลลิเมตร
** ปัจจุบันนิยมใช้สายใยแก้วนำแสงชนิด Multi-mode Grade Index

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การคำนวณค่า Loss ของ Fiber Optic

ตัวอย่าง : (คำนวณที่ wavelength 1300 nm ตามมาตรฐาน TIA/EIA-568-B.3   ติดตั้งสาย Multimode 50/125 ohm ยาว 500 เมตร มีจุดต่อแบบ Splice 1 จุด ต่อ และมีจุดต่อแบบ Adapter 2 จุดต่อที่ Patch Panel ให้คำนวณหาค่า Loss                                              Limit                        Q’TY                          Loss Fiber Loss                          1.5 dB/km                0.5 km                     0.75 dB Adapter    Loss                   0.75 dB                      2                                1.5 dB Splice Loss                           0.3 dB                       1                               0.3 dB                                                                           Total :                           2.55 dB การคำนวณค่า Loss ของ Fiber Optic ตัวอย่าง : (คำนวณที่ wavelength 850nm ตามมาตรฐาน TIA/EIA-568-B.3   ติดตั้งสาย Multimode 50/125 ohm ยาว 500 เมตร มีจุดต่อแบบ Splice 1 จุดต่อ และมีจุดต่อแบบ Adapter 2 จุดต่อที่ Patch Panel

10. ข้อกำหนดในการติดตั้งระบบสายสัญญาณภายหลังการติดตั้งคือสายสัญญาณ

10.1     ทั่วไป             สำหรับการติดตั้งนอกจากจะต้องดำเนินการตามมารตรฐานนี้แล้วยังต้องติดตั้งตามข้อกำหนดและระเบียบในการติดตั้งที่ถือปฎิบัติในแต่ละท้องที่อีกด้วย 10.1.1  การเดินสายสัญญาณแนวราบและสายสัญญาณหลัก             ควรจะเริ่มประเมินว่าจะติดตั้งสายสัญญาณได้ถูกต้องตามแบบที่ได้กำหนดไว้ และความเค้นในสายควรจะมีน้อยที่สุด (ความเค้นเกิดจากแรงดึงในการดึงและขึงสายสัญญาณ ในการติดดตั้งหรือการรัดสายเนื่องจากการมัดสาย) สายรัดสายสัญญาณที่ใช้รัดรวมสายสัญญาณควรจะรัดให้หลวมพอที่สายสัญญาณจะสามารถเลื่อนไปตามสายได้บ้าง ไม่ควรจะรัดจนสายเสียรูปไป (ต้องศึกษาข้อกำหนดการติดตั้งและกฎระเบียบก่อนการติดตั้ง) 10.2     สายตีเกลียว 100 โอห์ม (สายยูทีพี : สายตีเกลียวไม่มีชิลด์) หรือสายเอสซีทีพี  (สายตีเกลียวหุ้มฟอยล์) 10.2.1  รัศมีความโค้งงอที่ต่ำที่สุด             รัศมีความโค้งงอที่ต่ำที่สุดของสายสัญญาณจะขึ้นอยู่กับสภาพของสายสัญญาณขณะที่ทำการติดตั้งคือมีแรงดึงมากระทำกับสายสัญญาณ และภายหลังการติดตั้งคือสายสัญญาณอยู่นิ่งไม่มีแรงกระทำกับสายสัญญาณ 10.2.1.1 รัศมีความโค้งงอที่ต่ำที่สุดของสายสัญญาณ    

4. การติดต้้งระบบสายสัญญาณ

4.1       ทั่วไป             การติดตั้งสายสัญญาณแนวราบเป็นส่วนหนึ่งของการติดตั้งระบบสายสัญญาณที่ใช้ในการสื่่อสารคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม โดยเป็นการติดตั้งสายสัญญาณจากจุดรวมการสื่อสารไปยังเต้ารับ หรือขั้วต่อในพื้นที่ใช้งาน ซึ่งประกอบด้วยสายสัญญาณแนวราบ เต้ารับ การเชื่อมต่อสายเชือมต่อหรือสายต่อในจุดรวมการสื่อสาร และอาจจะถึงกลุ่มเต้ารับ หรือจุดศูนย์รวมเต้ารับก็ได้             (คำว่า "แนวราบ" ใช้กับสายสัญญาณที่เดินตามแนวราบหรือแนวนอนในขั้วหรือใต้ฝ้าของอาคาร)             การออกแบบการติดตั้งสายสัญญาณในแนวราบเทียบกับการใช้งานในระบบต่างๆ ดังนี้             ก) ระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์             ข) อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบสลับสาย             ค) ระบบการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์             ง) ระบบแลน (Local area Network)             จ) ระบบภาพเคลื่อนไหว หรือกล้องวงจรปิด        ฉ) ระบบสัญญาณในอาคารต่างๆ เช่น ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ , ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้, ระบบควบคุมปรับอากาศ ฯลฯ             เนื่องจากการติดตั้งสายสัญญาณแนวราบมีความสำคัญ และเมื่อติดตั้งไปพร้อมกับการก่อสร้า