ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

4. การติดต้้งระบบสายสัญญาณ

4.1       ทั่วไป
            การติดตั้งสายสัญญาณแนวราบเป็นส่วนหนึ่งของการติดตั้งระบบสายสัญญาณที่ใช้ในการสื่่อสารคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม โดยเป็นการติดตั้งสายสัญญาณจากจุดรวมการสื่อสารไปยังเต้ารับ หรือขั้วต่อในพื้นที่ใช้งาน ซึ่งประกอบด้วยสายสัญญาณแนวราบ เต้ารับ การเชื่อมต่อสายเชือมต่อหรือสายต่อในจุดรวมการสื่อสาร และอาจจะถึงกลุ่มเต้ารับ หรือจุดศูนย์รวมเต้ารับก็ได้
            (คำว่า "แนวราบ" ใช้กับสายสัญญาณที่เดินตามแนวราบหรือแนวนอนในขั้วหรือใต้ฝ้าของอาคาร)
            การออกแบบการติดตั้งสายสัญญาณในแนวราบเทียบกับการใช้งานในระบบต่างๆ ดังนี้
            ก) ระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์
            ข) อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบสลับสาย
            ค) ระบบการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์
            ง) ระบบแลน (Local area Network)
            จ) ระบบภาพเคลื่อนไหว หรือกล้องวงจรปิด
       ฉ) ระบบสัญญาณในอาคารต่างๆ เช่น ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ , ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้, ระบบควบคุมปรับอากาศ ฯลฯ
            เนื่องจากการติดตั้งสายสัญญาณแนวราบมีความสำคัญ และเมื่อติดตั้งไปพร้อมกับการก่อสร้างแล้วจะเป็นการยากและสิ้นเปลืองในการแก้ไขหรือปรับปรุง ดังนั้นจึงควรศึกษาความต้องการของผู้ใช้งานให้รอบคอบก่อนการออกแบบติดตั้ง อีกทั้งควรนำมาตรฐาน ANSI/TIA/EIA-569-A มาใช้ในการกำหนดแนวทางในการติดตั้งสายสัญญาณด้วย

4.2       รูปแบบ
            การติดตั้งสายสัญญาณในแนวราบควรใช้รูแปแบบการกระจายสายแบบสตาร์ ตามรูปที่ 2 โดยเดินสายจากจุดรวมสายสัญญาณไปยังเต้ารับของจุดใช้งาน และจุดรวมสายสัญญาณควรอยู่ในชั้นเดียวกันกับเต้ารับ แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องมีจุดเปลี่ยนระหว่างจุดต่อครอสแนวราบไปยังเต้ารับอนุญาตให้มีได้ไม่เกินหนึ่งจุด
            ในกรณีที่บางระบบจำเป็นต้องใช้ตัวแปลงเพื่อต่อเข้าอุปกรณ์ วิธีการติดตั้งควรต่อจากภายนอกเต้ารับ ไม่ควรไปติดตั้งหรือแทรกกลางทาง


รูปที่ 2 : ระบบสายสัญญาณแนวราบและสายสัญญาณบริเวณสถานที่ทำงานโดยใช้การกระจายสายแบบสตาร์

หมายเหตุ  : 1. รูปแบบการเดินสายสัญญาณแบบสตาร์หรือแบบริงที่จุดเชื่อมต่อสายสัญญาณสือสารให้ถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของระบบสายสัญญาณหลัก เรื่องการเชื่อมต่อระหว่างจุดเชื่อมต่อระบบสายสัญญาณสื่อสารที่อยู่ใกล้กันจะอธิบายในหัวข้อ 5.2.3
               2. ระบบสายสัญญาณใยแก้วนำแสงแแบบรวมศูนย์เป็นการออกแบบให้ใช้ที่จุดเชื่อมต่อระบบสายสัญญาณสื่อสาร เพื่อให้ระบบสายใยแก้วนำแสงแนวราบสามารถรองรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบรวมศูนย์ได้ ข้อกำหนดเฉพาะเกี่ยวกับระบบสายสัญญาณแบบรวมศูนย์อยู่ในภาคผนวก ก.

4.3       ระยะห่างแนวราบ
            ระยะห่างในแนวราบคือความยาวของสายสัญญาณจากจุดเชื่อมต่อระบบสายสัญญาณสื่อสารไปยังเต้ารับจะต้องไม่เกิน 90 เมตร (295 ฟุต) โดยจะไม่ขึ้นกับชนิดของสื่อต่างๆ (ตามรูปที่ 2 ) แต่ถ้าใช้กลุ่มเต้ารับที่มีหลายเต้ารับอยู่ด้วยกันระยะห่างในแนวราบที่มีการเดินสายสัญญาณด้วยทองแดงจะต้องลดลงตามหัวข้อ 6.4.1.4
           ความยาวของสายย้ำแบบครอสหรือสายต่อเชื่อมในบริเวณจุดครอสที่ต่อเข้าอาคาร รวมไปถึงการต่อครอสแนวราบ สายย้ำและสายต่อเชื่อมในส่วนของระบบสายสัญญาณแนวราบ ที่ต่อเชื่อมกับสายเชื่อมอุปกรณ์หรือเชื่อมสายสัญญาณหลักจะต้องมีความยาวไม่เกิน 5 เมตร (16 ฟุต) ส่วนความยาวของสายต่อเชื่อมไปยังสถานที่ทำงาน หรือความยาวของสายเชื่อมอุปกรณ์ที่จุดเชื่อมต่อสายสัญญาณสื่อสารจะต้องมีความยาวไม่เกิน 10 เมตร (33 ฟุต) ถ้าใช้กลุ่มเต้ารับที่มีหลายเต้ารับอยู่ด้วนกันสามารถดูได้ที่หัวข้อ 6.4.1.4 และ 6.4.1.5

หมายเหตุ :  ความยาวมากที่สุดของช่องสัญญาณแนวราบระหว่างเต้ารับไปยังสถานที่ทำงานจะต้องไปเกิน 5 เมตร  (16 ฟุต)

4.4       สายสัญญาณที่แนะนำ
            สายสัญญาณที่แนะนำให้ใช้ในการเดินระบบสายสัญญาณแนวราบมี 2 ชนิด คือ
            1. สายยูทีพี (สายตีเกลียวไม่มีชิลด์) หรือสายเอสซีทีพี (สายตีเกลียวหุ้มฟอยล์) แบบ  100 โอห์ม
                4 คู่ ( ANSI/TIA/EIA-568-B.2)
          2. สายใยแก้วนำแสงแบบมัลติโหมดชนิด 2 แกนหรือมากกว่า แบบ 62.5/125 ไมครอน หรือ 50/125 ไมครอน ( ANSI/TIA/EIA-568-B.3)

           ในปัจจุบันสายเอสทีพี  (สายตีเกลียวหุ้มฟอยล์) แบบ  150 โอห์ม (STP -A) เป็นสายสัญญาณที่อยู่ในมาตรฐาน ( ANSI/TIA/EIA-568-B.3) แต่ในสายประเภทนี้ไม่แนะนำให้ใช้ในการติดตั้งระบบสายสัญญาณใหม่เพราะว่าคาดว่าจะมีการนำสายสัญญาณนี้ออกจากมาตรฐานนี้ในการปรับปรุงครั้งต่อไป
            การกำหนดรหัสของสายสัญญาณต่างๆเข่น อุปกรณ์เชื่อมต่อ, สายย้ำ, สายต่อเชื่อม, สายเชื่อมอุปกรณ์และสายเชื่อมในสถานที่ทำงาน จะกำหนดไว้ในมาตรฐาน  ANSI/TIA/EIA-568-B.2 และ ANSI/TIA/EIA-568-B.3 ถ้ามีการติดตั้งระบบสายสัญญาณแนวราบทั้งแบบสายสัญญาณรวมชุดหรือแบบสายสัญญาณลูกผสมการกำหนดรหัสสีของสายสัญญาณทองแดงรวมชุดหรือแบบสายสัญญาณทองแดงลูกผสม ก็เป็นไปตามมาตรฐาน  ANSI/TIA/EIA-568-B.2 ซึ่งในข้อกำหนดอาจจะเรียกว่าสายสัญญาณแบบลูม (loomed) , แบบสปีดแรพ (speed-warp) หรือ แบบวิพ (whip)

หมายเหตุ  :  1. ในภาคผนวก ค. ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายสัญญาณแนวราบที่ใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งสายสัญญาณเหล่านี้ลักษณะเฉพาะตัวที่เอาไว้ใช้งานเฉพาะ สายเหล่านี้ไม่ได้ในมาจรฐานนี้แต่สามารถใช้เพิ่มเติมจากมาตรฐานนี้ได้
                2. สายสัญญาณแบบคอมโพสิต (composite cable) เป็นสายสัญญาณลุกผสม ที่ประกอบด้วยสายใยแก้วนำแแสงและสายสัญญาณที่ตัวนำเป็นทองแดง

4.5       การเลื่อกชนิดของสายสัญญาณ
            ในอาคารสำนักงานจะให้ความสำคัญในดรื่องการสื่อสารทั้งด้านข้อมูลและสัญญาณเสียง ดังนั้นมาตรฐานนี้จึงได้กำหนดสำนักงานต้องมีเต้ารับอย่างน้อยสองชุดที่แสดงไว้ในรูปที่ 2 โดยเต้ารับชุดหนึ่่งอาจจะใช้สำหรับเสียง ส่วนอีกชุดอาจจะใช้สำหรับการรับส่งข้อมูล เต้ารับทั้งสองชุดควรมีการออกแบบดังนี้
           1.  เต้ารับชุดที่หนึ่งต้องรองรับสายสัญญาณ 100 โอห์ม 4 คู่ จำนวนหนึ่งเส้นชนิด category  3 (CAT 3 ) หรือสูงกว่่า (แนะนำให้ใช้เป็น category 5e (CAT 5e ) ดังที่ระบุไว้ใน ANSI/TIA/EIA-568-B.2
           2.  เต้ารับชุดที่สองจะต้องรองรับสายสัญญาณต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งอาจจะพิจารณาตามต้องการใช้งานหรือแบบที่วางไว้ดังนี้
                1) สายสัญญาณ 100 โอห์ม 4 คู่ จำนวนหนึ่งเส้นชนิด category 5e (CAT 5e ดังที่ระบุไว้ใน ANSI/TIA/EIA-568-B.2
                2) สายใยแก้วนำแสงแบบมัลติโหมด 62.5/125 ไมครอนหรือ 50/125 ไมครอนดังที่ ระบุไว้ใน
ANSI/TIA/EIA-568-B.3

4.6       การต่อลงดิน
            การต่อลงดินก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพราะจะช่วยป้องกันผู้ใช้งานและอุปกรณ์สื่อสารจากแรงดันเกิน และการต่อลงดินยังช่วยลดและกำจัดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากการเหนี่ยวนำที่จะไปรบกวนระบบสื่อสารโทรคมนาคมอื่นๆด้วย ซึ่งการต่อลงดินและการเชื่อมจะเป็นไปตามมาตรฐาน ANSI/TIA/EIA-607 ส่วนการติดตั้งสายเอสซีทีพี  สายตีเกลียวหุ้มฟอยล์  ต้องมีการต่อลงดินโดยเชื่อมสายตัวนำไปที่บัสบาร์ซึ่งต่อไปที่จุดเชื่อมต่อระบบสายสัญญาณสื่อสาร ส่วนการต่อลงดินในสถานที่ทำงานจะต่อเข้ากับการต่อลงดินของระบบไฟฟ้า และชิลด์ก็จะต่อกับสายเชื่อมต่อของสายเอสซีทีพี (สายตีเกลียวหุ้มฟอยล์) แรงดันระหว่างชิลด์ และสายดินในระบบไฟฟ้าจะต้องไม่เกิน 1Vrms

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การคำนวณค่า Loss ของ Fiber Optic

ตัวอย่าง : (คำนวณที่ wavelength 1300 nm ตามมาตรฐาน TIA/EIA-568-B.3   ติดตั้งสาย Multimode 50/125 ohm ยาว 500 เมตร มีจุดต่อแบบ Splice 1 จุด ต่อ และมีจุดต่อแบบ Adapter 2 จุดต่อที่ Patch Panel ให้คำนวณหาค่า Loss                                              Limit                        Q’TY                          Loss Fiber Loss                          1.5 dB/km                0.5 km                     0.75 dB Adapter    Loss                   0.75 dB                      2                                1.5 dB Splice Loss                           0.3 dB                       1                               0.3 dB                                                                           Total :                           2.55 dB การคำนวณค่า Loss ของ Fiber Optic ตัวอย่าง : (คำนวณที่ wavelength 850nm ตามมาตรฐาน TIA/EIA-568-B.3   ติดตั้งสาย Multimode 50/125 ohm ยาว 500 เมตร มีจุดต่อแบบ Splice 1 จุดต่อ และมีจุดต่อแบบ Adapter 2 จุดต่อที่ Patch Panel

10. ข้อกำหนดในการติดตั้งระบบสายสัญญาณภายหลังการติดตั้งคือสายสัญญาณ

10.1     ทั่วไป             สำหรับการติดตั้งนอกจากจะต้องดำเนินการตามมารตรฐานนี้แล้วยังต้องติดตั้งตามข้อกำหนดและระเบียบในการติดตั้งที่ถือปฎิบัติในแต่ละท้องที่อีกด้วย 10.1.1  การเดินสายสัญญาณแนวราบและสายสัญญาณหลัก             ควรจะเริ่มประเมินว่าจะติดตั้งสายสัญญาณได้ถูกต้องตามแบบที่ได้กำหนดไว้ และความเค้นในสายควรจะมีน้อยที่สุด (ความเค้นเกิดจากแรงดึงในการดึงและขึงสายสัญญาณ ในการติดดตั้งหรือการรัดสายเนื่องจากการมัดสาย) สายรัดสายสัญญาณที่ใช้รัดรวมสายสัญญาณควรจะรัดให้หลวมพอที่สายสัญญาณจะสามารถเลื่อนไปตามสายได้บ้าง ไม่ควรจะรัดจนสายเสียรูปไป (ต้องศึกษาข้อกำหนดการติดตั้งและกฎระเบียบก่อนการติดตั้ง) 10.2     สายตีเกลียว 100 โอห์ม (สายยูทีพี : สายตีเกลียวไม่มีชิลด์) หรือสายเอสซีทีพี  (สายตีเกลียวหุ้มฟอยล์) 10.2.1  รัศมีความโค้งงอที่ต่ำที่สุด             รัศมีความโค้งงอที่ต่ำที่สุดของสายสัญญาณจะขึ้นอยู่กับสภาพของสายสัญญาณขณะที่ทำการติดตั้งคือมีแรงดึงมากระทำกับสายสัญญาณ และภายหลังการติดตั้งคือสายสัญญาณอยู่นิ่งไม่มีแรงกระทำกับสายสัญญาณ 10.2.1.1 รัศมีความโค้งงอที่ต่ำที่สุดของสายสัญญาณ